Charida Intanom 49

Charida  Intanom  49

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3207)

อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ

วันอังคารที่  21  ตุลาคม   2557

ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557



                        ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้แต่ละคนนำสื่อของเล่นที่ตนเองประดิษฐ์ออกมานำเสนอหน้าชั้นพร้อมกับบอกด้วยว่าเด็กได้วิทยาศาสตร์ตรงไหน? มีเพื่อนๆนำสื่อที่ตนเองประดิษฐ์ออกมา Persent มากมาย เช่น ไหมพรมเต้นระบำ แก้วส่งเสียง ปืนลูกโป่ง ฯลฯ ส่วนฉันประดิษฐ์"ลูกโป่งเฮลิคอปเตอร์" ซึ่งจะใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของแรงดันอากาศทำให้หลอดสามารถหมุนไปตามแรงลมของอากาศได้ และเพื่อนๆยังใช้หลักการทางวิทยาศาตร์ในเรื่องต่างๆในการทำสิ่งประดิษฐ์ของเล่นต่างๆด้วยเช่นกัน บางคนอาจจะใช้หลักการเรื่องแรงดันของอากาศ เรื่องแรงต้านของอากาศ เป็นต้น และในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์ของเล่นจากแกนกระดาษทิชชู่ซึ่งเป็นการประดิษฐ์ง่ายๆและสามารถเล่นได้โดยการขยับเส้นไหมพรมออกทั้งสองข้างแกนทิชชู่ก็จะดันตัวขึ้นมา...



สิ่งประดิษฐ์จากแกนกระดาษทิชชู่

วัสดุอุปกรณ์ (Material)
  1. แกนทิชชู่ (Axle)
  2. กรรไกร (Scissors)
  3. กระดาษสี (Colored paper)
  4. เมจิ/สีต่างๆ (Color)
  5. กาว (Glue)
  6. ไหมพรม (Knitting wool)
  7. ที่เจาะรู (That perforate)

วิธีการทำ (Procedures)

  1. ตัดแกนทิชชู่เป็น 2 ท่อน
  2. ใช้ที่เจาะเจาะรูทั้ง 2 ฝั่งตรงข้ามกัน
  3. ใช้ไหมพรมใส่เข้าไปตรงรูที่เจาะผูกปมไหมพรมให้คล้องคอได้ยาวพอประมาณ
  4. วาดรูปใส่กระดาษนำมาติดกับแกนทิชชู่พร้อมตกแต่งให้สวยงาม

จะได้ออกมาเป็นแบบนี้


วิธีการเล่น (How to play)

  1. นำไหมพรมคล้องคอ
  2. ใช้มือนทั้งสองข้างดึงไหมพรมที่อยู้ข้างล่าง
  3. ขยับมือซ้ายขวาไปมาแกนทิชชู่จะค่อยๆเลื่อนขึ้นข้างบน


การนำไปประยุกต์ใช้

                            สามารถนำความรู้ที่ได้จากการประดิษฐ์ของเล่นสามารถนำไปให้เด็กเล่นในชีวิตได้จริงรวมถึงยังได้รู้ถึงหลักการต่างๆทางวิทยาศาสตร์ต่างๆมากมายในชีวิตประจำวันมีการนำหลักการวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอเพราะวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรานั้นเอง

การประเมินผล

                           ประเมินตนเอง = ในสัปดาห์นี้มีการเตรียมตัวในเรื่องของการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการของออกมาประดิษฐ์ของเล่นให้เพื่อนในห้องได้ดูสามารถอธิบายถึงหลักการวิทยาศาสตร์สิ่งประดิษฐ์ที่ตนนำมาได้เป็นอย่างดี
                           ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆสนใจดูสิ่งประดิษฐ์ที่เพื่อนๆคนอื่นออกมา Persent หน้าห้องเป็นอย่างดีมีการโต้ตอบคำถามเวลาที่อาจารย์ถามมีการเตรียมตัวในการนำสิ่งประดิษฐ์ของเล่นของตนเองมา
                           ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการถามคำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กคิดมีการสอดแทรกความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อประดิษฐ์ที่นำมา

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การจัดกิจกรรม หน่วย "กล้วย"


งานที่ยังไม่ได้แก้ไข


งานที่ได้รับการแก้ไขแล้ว


ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อสื่อของเล่น


ลูกโป่งเฮลิคอปเตอร์



วัสดุอุปกรณ์ในการทำ (Material)


                                                             1. ลูกโป่ง (ฺBalloon)
                                                             2. หลอด (Straw)
                                                             3.ตะเกียบ (Chopsticks)
                                                             4.เทปใส (Clear adhesive tape)

ขั้นตอนการทำ  (Procedures)
ขั้นตอนที่ 1



ขั้นตอนที่ 2


ขั้นตอนที่ 3


ขั้นตอนที่ 4


วิธีการเล่น  (How to play)


สาเหตุที่ลูกโป่งหมุนได้

                      การที่หลอดหมุนเป็นวงกลมได้เพราะแรงดันของอากาศเมื่อปล่อยให้ลมไหลออกไปจากลูกโป่งทำให้เกิดแรงดันในอากาศส่งผลให้หลอดหมุนได้นั้นเอง







บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3207)

อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ

วันอังคารที่  14  ตุลาคม   2557

ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557


              ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้แต่ละคนนำของเล่นวิทยาศาสตร์( Science Toy)ที่ตนเตรียมมานำเสนอหน้าชั้นเรียนจะมีอุปกรณ์ออกมานำเสนอหรือไม่มีก็ได้ โดยการออกมานำเสนอหน้าชั้นต้องบอกให้ได้ว่าของเล่นที่เราเตรียมมาเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ในเรื่องใด เช่น เกี่ยวกับพลังงานลม แรงดันของอากาศ ฯลฯ ส่วนที่ดิฉันเตรียมมาเป็นการทดลองวิทยาศสตร์เรื่องไฟฟ้าสถิตย์ไม่ใช่ของเล่นอาจารย์จึงให้ไปเตรียมมาใหม่เพื่อ Persent ใน Week ต่อไป พอเพื่อนๆ Persent เสร็จอาจารย์ก็ได้อธิบายถึงงานเก่าๆที่ทำกันมาว่ามีอะไรที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมและให้เตรียมอุปกรณ์ คือ แกนทิชชู่ เพื่อมาประดิษฐ์ใน Week ต่อไป


การนำไปประยุกต์ใช้

                            สามารถนำความรู้ที่ได้จากการประดิษฐ์ของเล่นสามารถนำไปให้เด็กเล่นในชีวิตจริงได้และยังสามารถสอนเด็กในเรื่องของวิทยาศาสตร์จากของเล่นที่เราประดิษฐ์ขึ้นทำให้เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น

การประเมินผล

                           ประเมินตนเอง = ในสัปดาห์นี้มีการเตรียมตัวในเรื่องของการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการของออกมาประดิษฐ์ของเล่นให้เพื่อนในห้องได้ดูเป็นอย่างดีถึงแม้สิ่งที่เตรียมมาจะไม่ใช้ของเล่นก็ตามแต่ก็ได้รู้ถึงความรับผิดชอบในงานที่ตนได้รับมอบหมายให้ทำได้เป็นอย่าดี
                            
                           ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆสนใจดูสิ่งประดิษฐ์ที่เพื่อนๆคนอื่นออกมา Persent หน้าห้องเป็นอย่างดีมีการโต้ตอบคำถามเวลาที่อาจารย์ถามมีการแสดงความคิดเห็นถึงสิ่งประดิษฐ์ที่เพื่อนนำมาเสนอ
                           ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการถามคำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กคิดมีการพูดให้กำลังใจนักศึกษาที่นำสิ่งประดิษฐ์มาไม่ตรงกับโจทย์ที่ครูต้องการ

                  

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3207)

อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ

วันอังคารที่  7  ตุลาคม   2557

ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557


         สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แห่งการสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัย

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3207)

อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ

วันอังคารที่  30  กันยายน   2557

ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557


                    สัปดาห์นี้อาจารย์ได้เข้าสัมนางานวิชาการเรื่อง"ปรัชญาแนวคิดจากเศรษฐกิจพอเพียง"โดยวิทยากรจาก (ปอ ทฤษฎี)