Charida Intanom 49

Charida  Intanom  49

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3207)

อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ

วันอังคารที่  21  ตุลาคม   2557

ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557



                        ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้แต่ละคนนำสื่อของเล่นที่ตนเองประดิษฐ์ออกมานำเสนอหน้าชั้นพร้อมกับบอกด้วยว่าเด็กได้วิทยาศาสตร์ตรงไหน? มีเพื่อนๆนำสื่อที่ตนเองประดิษฐ์ออกมา Persent มากมาย เช่น ไหมพรมเต้นระบำ แก้วส่งเสียง ปืนลูกโป่ง ฯลฯ ส่วนฉันประดิษฐ์"ลูกโป่งเฮลิคอปเตอร์" ซึ่งจะใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของแรงดันอากาศทำให้หลอดสามารถหมุนไปตามแรงลมของอากาศได้ และเพื่อนๆยังใช้หลักการทางวิทยาศาตร์ในเรื่องต่างๆในการทำสิ่งประดิษฐ์ของเล่นต่างๆด้วยเช่นกัน บางคนอาจจะใช้หลักการเรื่องแรงดันของอากาศ เรื่องแรงต้านของอากาศ เป็นต้น และในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์ของเล่นจากแกนกระดาษทิชชู่ซึ่งเป็นการประดิษฐ์ง่ายๆและสามารถเล่นได้โดยการขยับเส้นไหมพรมออกทั้งสองข้างแกนทิชชู่ก็จะดันตัวขึ้นมา...



สิ่งประดิษฐ์จากแกนกระดาษทิชชู่

วัสดุอุปกรณ์ (Material)
  1. แกนทิชชู่ (Axle)
  2. กรรไกร (Scissors)
  3. กระดาษสี (Colored paper)
  4. เมจิ/สีต่างๆ (Color)
  5. กาว (Glue)
  6. ไหมพรม (Knitting wool)
  7. ที่เจาะรู (That perforate)

วิธีการทำ (Procedures)

  1. ตัดแกนทิชชู่เป็น 2 ท่อน
  2. ใช้ที่เจาะเจาะรูทั้ง 2 ฝั่งตรงข้ามกัน
  3. ใช้ไหมพรมใส่เข้าไปตรงรูที่เจาะผูกปมไหมพรมให้คล้องคอได้ยาวพอประมาณ
  4. วาดรูปใส่กระดาษนำมาติดกับแกนทิชชู่พร้อมตกแต่งให้สวยงาม

จะได้ออกมาเป็นแบบนี้


วิธีการเล่น (How to play)

  1. นำไหมพรมคล้องคอ
  2. ใช้มือนทั้งสองข้างดึงไหมพรมที่อยู้ข้างล่าง
  3. ขยับมือซ้ายขวาไปมาแกนทิชชู่จะค่อยๆเลื่อนขึ้นข้างบน


การนำไปประยุกต์ใช้

                            สามารถนำความรู้ที่ได้จากการประดิษฐ์ของเล่นสามารถนำไปให้เด็กเล่นในชีวิตได้จริงรวมถึงยังได้รู้ถึงหลักการต่างๆทางวิทยาศาสตร์ต่างๆมากมายในชีวิตประจำวันมีการนำหลักการวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอเพราะวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรานั้นเอง

การประเมินผล

                           ประเมินตนเอง = ในสัปดาห์นี้มีการเตรียมตัวในเรื่องของการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการของออกมาประดิษฐ์ของเล่นให้เพื่อนในห้องได้ดูสามารถอธิบายถึงหลักการวิทยาศาสตร์สิ่งประดิษฐ์ที่ตนนำมาได้เป็นอย่างดี
                           ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆสนใจดูสิ่งประดิษฐ์ที่เพื่อนๆคนอื่นออกมา Persent หน้าห้องเป็นอย่างดีมีการโต้ตอบคำถามเวลาที่อาจารย์ถามมีการเตรียมตัวในการนำสิ่งประดิษฐ์ของเล่นของตนเองมา
                           ประเมินผู้สอน = อาจารย์มีการถามคำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กคิดมีการสอดแทรกความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อประดิษฐ์ที่นำมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น