Charida Intanom 49

Charida  Intanom  49

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3207)

อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ

วันอังคารที่  25  พฤศจิกายน   2557

ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557

ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge that receive )
ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอวิจัย(Research)และโทรทัศน์ครู(Teachers TV)ของแต่ละคน 
โทรทัศน์ครู(Teachers TV)
 - การกำเนิดของเสียง (การใช้ช้อนซ้อม/โลหะที่มีคุณสมบัติต่างกันมาตีกัน)
 - สารอาหารในชีวิตประจำวัน (นำแกงส้มมาแล้วนำกระดาษทดลองจุ่มลงไปสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น)
- ไฟฟ้าและพรรณพืช (สำรวจ/สังเกตการเจริญเติบโตของพรรณพืชการทดลองโดยใช้กระแสไฟฟ้าทำกับน้ำเกิดOxygen ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช)
วิจัย(Research) 
- ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (การลงมือปฏิบัติ/คั้นน้ำจากผัก/ผลไม้/ดอกไม้เพื่อเอาสีมาทำผสมอาหารหรือทำงานศิลปะ)
 - ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มัต่อทักษะการแสวงหาความรู้
- การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร (การจำแนก/สังเกต/สื่อความหมายของข้อมูล)

การทำ"Waffle"



ส่วนผสม(Compound)
                            
1.แป้ง(Powder)
2.เนย(Better)
3.ไข่ไก่ (Egg)
4.น้ำเปล่า(Water)

ขั้นตอนการทำ(Step)

1.เทแป้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้

2.นำไข่ใส่ลงไปตามด้วยเนยจืดคนให้เข้ากัน

3.เติมน้ำเพื่อไม่ให้แป้งข้นจนเกินไป

4.คนจนแป้งเข้าที่เป็นเนื้อเดียวกันก็จะได้แบบนี้

5.แบ่งแป้งใส่ถ้วยที่เตรียมไว้

6.นำเนยทาที่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้เพื่อไม่ให้แป้งติดแม่พิมพ์

7.นำแป้งที่แบ่งไว้ในถ้วยเทลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้

8.รอจนสุกก็จะได้ออกมาเป็นหน้าตาแบบนี้

การนำไปประยุกต์ใช้ (Apply)
                         
                         สามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟังเพื่อนออกมานำเสนอและที่อาจารย์อธิบายให้ฟังสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้เพราะบางกิจกรรมบางวิจัยที่ศึกษาสามารถนำมาปรับใช้กับการเรียนการสอนเด็กในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้กับเด็กได้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รวมถึงการทำWaffleสามารถนำวิธีการขั้นตอนการทำมาใช้สอนเด็กในอนาคตได้ซึ่งจะทำให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์อีกด้วยในเรื่องการสังเกต/การลงมือปฏิบัติ/การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการดม ชิมรส การสัมผัส ตาดู หูฟัง

ประเมินตนเอง (Assess oneself)
                        แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและอธิบายถึงวิธีการสอนเทคนิคการสอนเด็กให้เด็กเข้าใจเป็นขั้นๆและสามารถที่จะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ได้จริงและนำไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่ดีขึ้น

ประเมินเพื่อน  (Assess a friend)
                       เพื่อนในกลุ่มรวมถึงเพื่อนในห้องพูดคุยถึงข้อสงสัยในเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนอว่ามีทักษะมีการจัดกิจกรรมอย่างไรวิธีการทำการดำเนินกิจกรรมต่างๆมีการช่วยกันตอบคำถามกับอาจารย์อย่างสนุนสนานมีการพูดคุยโต้แย้งถึงข้อสงสัยที่เกิดขึ้น

ประเมินอาจารย์  (Assess a teacher) 
                       อาจารย์มีการถามถึงวิธีและกระบวนการทำของงานวิจัยและการจัดกิจกรรมของโทรทัศน์ว่าเขาใช้วิธีอะไรมีการสอนอย่างไรมีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กเกิดข้อสงสัยและเกิดกระบวนการคิดการหาคำตอบมีการอธิบายและสรุปถึงเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนออย่างเข้าใจชัดเจน




วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3207)

อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ

วันอังคารที่  18  พฤศจิกายน   2557

ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557



ความรู้ที่ได้รับ
                  ในสัปดาห์เพื่อนกลุ่มที่เหลือที่ยังไม่ได้รายงานแผนการสอนออกมานำเสนองานต่อจากสัปดาห์ที่แล้วมีกลุ่ม นกหงษ์หยกสอนแผนวันอังคาร  กลุ่มสับปะรดสอนแผนวันพุธ และกลุ่มส้มใช้แผนวันพฤหัสบดี ซึ่งรายงานแผนการสอนเสร็จก็ต่อด้วยการอ่านวิจัย(Research)และโทรทัศน์ครู(Teachers TV) ต่อด้วยการสาธิตทำไข่เทอริยากิด้วยวิธีการทำที่แสนง่ายขั้นตอนไม่ยุ่งยากและยังอร่อยแถมมีประโยชน์อีกด้วย

กลุ่มที่ 2 หน่วยนกหงษ์หยก (jade bird) 


วิธีการสอน กลุ่มนี้สอนเกี่ยวกับนกหงษ์หยกโดยเปรียบเทียบความเหมือนต่างของนกสองสายพันธ์ได้แก่พันธ์เยอรมันกับพันธ์สตีโนมีการเตรียมสื่ออุปกรณ์มาดีมีการทำแผ่นวงกลมเป็นรูปสีต่างๆเพื่อให้เด็กเข้าใจและเห็นสีชัดเจนยิ่งขึ้น ข้อบกพร่องคือควรทำตารางแยกลักษณะให้ชัดเจน เช่น สี ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ และแบ่งชนิดสายพันธ์ของนกที่จะสอนเพื่อเปรียบเทียบให้เด็กเห็นชัดเจนความเหมือนต่างของนกสองสายพันธ์ อันไหนวาดรูปได้ก็ให้วาดเพื่อให้เด็กเห็นภาพเด็กจะได้เข้าใจเพราะเด็กยังอ่านหนังสือไม่ออก เวลลาถามควรไล่ระดับในการถามเพื่อให้เด็กสังเกตเหมือนกันโดยเริ่มจาใบหน้าลงมาสู่เท้า เสร็จแล้วก็มาหาความสัมพันธ์โดยหาความเหมือนก่อนอันไหนหาแล้วก็วงไว้เพื่อใ้เด็กรู้ว่าอันไหนเอาไปแล้วบ้าง

กลุ่มที่ 8 สับปะรด (pine apple




วิธีการสอน กลุ่มนี้จะสอนในเรื่องของประโยชน์และข้อควรระวังเริ่มขั้นนำด้วยการเล่านิทาน"น้องหนูนากับสับปะรด" มีการนำรูปมาให้ดูประกอบเพื่อให้เด็กเกิดการสังเกตจากภาพที่ดู ข้อบกพร่อง ควรพูดเป็นขั้นตอนอย่าเพิ่งรีบร้อนสอนไปเป็นขั้นๆ ครูควรถามคำถามให้ชัดเจน เช่น เด็กๆคิดว่าภาพนี้เขาทำอะไรอยู่คะ? เด็กตอบว่าคนคัดแยกสับปะรด เราอาจถามต่อว่า คนที่เขาคัดแยกสับปะรดมีอาชีพอะไรคะ? แล้วนำสับปะรดที่คัดแยกไปทำอะไรคะ? เด็กอาจตอบว่านำไปขาย เราก็บอกต่อไปว่าไปขายแล้วได้เงินทำให้เกิดรายได้ เด็กจะได้เปรียบเทียบและรู้ว่าอาชีพนี้ทำให้เกิดรายได้ และการสอนเด็กในเรื่องของข้อควรระวังควรสอนเรื่องที่ใกล้ตัว เช่น การทานสับปะรดต้องล้างมือก่อนเป็นต้น

กลุ่มที่ 9 ส้ม (Orange



วิธีการสอน กลุ่มนี้สอนเรื่องประโยชน์จากการแปรรูป เริ่มต้นด้วยคำคล้องจองเกี่ยวกับประโยชน์จากส้ม มีการนำเสนอด้วยของจริงมีการถามถึงสิ่งที่หยิบขึ้นมาว่าเป็นอะไรมีประโยชน์อย่างไรและข้อควรระวังมีอะไรบ้าง ข้อบกพร่อง ควรวางของจากซ้ายไปขวาเพราะเป็นกฏที่ต้องทำเพราะเราเขียนหนังสือจากซ้ายไปขวา ครูควรยืนข้างหลังไม่บังสิ่งของที่จะสอน คำคล้องจองควรมีชาตร์เพลงให้เด็กอ่านเพราะเด็กยังไม่รู้จักเพลงครูควรถามเด็กว่าประโยชน์ของส้มที่ได้จากการแปรรูปมีอะไรบ้าง?เด็กตอบแล้วบันทึกข้อมูล นอกเหนือจากนี้ยังมีอะไรอีกบ้างคะ? เด็กตอบพร้อมบันทึกข้อมูล ครููอาจให้เด็กแต่ละคนออกมาหยิบเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นควรสอนเด็กในเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน เช่น สเปย์กลิ่นส้มประโยชน์คือทำให้ห้องมีกลิ่นหอมข้อควรระวังคือไม่ควรฉีดใส่หน้าไม่ฉีดต้นลมเพราะจะทำให้เกิดอันตราย

การนำเสนอวิจัย(Research)และโทรทัศน์ครู(Teachers TV) 
วิจัย(Research
                  เรื่องผลการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
โทรทัศน์ครู(Teachers TV) 
                   เรื่องรวมสีน้ำยาล้างจาน
                   เรื่องสร้างพื้นฐานกิจกรรมการเรียนรู้กับประสาทสัมผัสทั้ง 5 
                   เรื่องกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   เรื่องดินน้ำมันลอยได้อย่างไร

กิจกรรมในห้องเรียน"ไข่ทาโกยากิ"


           เป็นกิจกรรมที่แสนง่ายสามารถนำไปใช้สอนเด็กได้เพราะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากวิธีการทำก็แสนง่ายอุปกรณ์ส่วนผสมก็หาได้ทั่วไปแถมยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย
ส่วนผสม
         1.ไข่ไก่ (Egg)
         2.ข้าวสวย (Rice)
         3.ผักต่างๆ(แครอทcarrot /ต้นหอม leek
         4.ปูอัด (a crab compresses)
         5.ซอสปรุงรส
         6.เนย (better)
วิธีการทำ
         1.ตีไข่ใส่ชาม
         2.นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี
         3.นำเนยใส่ในหลุมกระทะ
         4.คนส่วนผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปเทลงในหลุมกระทะที่เตรียมไว้

                  

การนำไปประยุกต์ใช้ (Apply)
                           
                         สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเขียนแผนการสอนการทำกิจกรรมต่างๆรวมถึงวิธีการสอนเทคนิคต่างๆสามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กในอนาคตได้จริงเพราะการเขียนแผนรวมถึงวิธีการสอนเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องใช้สอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่จะเป็นครูต้องสามารถเขียนแผนการสอนและสามารถนำแผนที่เขียนนั้นไปสสัปอนเด็กให้ตรงกับวัตุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างถูกต้องและเป็นขั้นตอน

ประเมินตนเอง (Assess oneself)
                        แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและอธิบายถึงวิธีการสอนเทคนิคการสอนเด็กให้เด็กเข้าใจเป็นขั้นๆและสามารถที่จะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ได้จริงและนำไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่ดีขึ้น

ประเมินเพื่อน (Assess a friend) 
                       เพื่อนในกลุ่มรวมถึงเพื่อนในห้องพูดคุยถึงข้อสงสัยในเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนอว่ามีข้อบกพร่องตรงไหนที่เพื่อนควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นเพื่อนๆร่วมทำกิจกรรมและสนใจฟังเพื่อนออกมานำเสนอได้ดี

ประเมินอาจารย์ (Assess a teacher)  
                       อาจารย์มีการถามถึงวิธีและกระบวนการสอนว่ามีตรงไหนที่เราคิดว่าไม่ถูกต้องควรปรับปรุงควรสอนแบบไหนก่อนก่อนที่จะไปสอนอีกแบบหนึ่งมีการถามให้เราเกิดความคิดและความเข้าใจในวิธีการสอนนั้นจริงๆและสามารถนำเทคนิคและวิธีการต่างๆไปสามารถใช้กับเด็กได้จริงในอนาคต มีการนำอุปกรณ์การประกอบอาหารมาให้นักศึกษาทำเพื่อที่สามารถนำไปใช้สอนกับเด็กในเรื่องของการประกอบอาหารได้เป็นอย่างดี

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปความรู้จากการดูโทรทัศน์ครู
เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส


องค์ความรู้ที่ได้/พัฒนาเด็กได้อย่างไร?
                      - เป็นการกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างความพร้อมพื้นฐานให้เด็กในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
                      - กิจกรรมสร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรมประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นการกระตุ้นฝึกความคิดและการแก้ปัญหารวมถึงยังเป็นการฝึกการจินตนาการให้กับเด็ก ดังนั้นการฝึกโยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 สามารถทำให้เด็กฉลาดได้
                     - ครูใช้สื่ออุปกรณ์มาใช้ในการมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้การรับรู้ที่ดี และยังให้เด็กเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและบุคคลอื่นส่งผลต่อการพัฒนาทางสมองและระบบประสาท
                     - กิจกรรมพัฒนาด้านสติปัญญาเสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
                     - จัดการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้ผู้เรียนค่อยๆต่อเติมแนวคิด ทักษะ และประสบการณ์เพื่อให้เข้าใจและเกิดการเรียนรู้เพราะการเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีแต่จะค่อยๆพัฒนาการเรียนรู้นั้นให้ดีขึ้น
                    - การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้โดนการลงมือทำให้เด็กได้สำรวจและจัดกระทำกับวัตถุโดยตรงทำให้เด็กรู้จักกับวัตถุพอเด็กคุ้นเคยกับวัตถุแล้วเด็กจะนำวัตถุต่างๆมาเกี่ยวข้องกันเด็กได้เรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์และครูมี่หน้าที่ให้เด็กค้นพบความสัมพันธ์นั้นด้วยตนเอง
                   - เด็กได้ลงมือปฏิบัติโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้ข้อมูลในรูปภาพ เสียง ได้ยิน รับกลิ่นเป็นต้น
การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
                   - เตรียมการสอนและวางแผนแนวการสอน
                   - จัดสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
                   - จัดเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้
                   - การจัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
                   - จัดประสบการณ์ที่หลากหลายให้เด็กเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจ ลงมือปฏิบัติจริงโดยการใช้ประสาทสัมผัสกับวัตถุด้วยความอยากรู้อยากเห็น ทดลองสร้างสิ่งใหม่ด้วยตนเอง
                   - ครูผู้สอนต้องทำความเข้าใจ ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนกำหนดแผนงานจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก
                   - ครูผู้สอนต้องรอบรู้ เชื่อมโยงความรู้เปรียบเทียบกับสิ่งที่มีอยู่รอบตัวกับความรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
                   - ครูผู้สอนต้องมีเทคนิคกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ลอดเวลา เช่น การใช้คำถาม การเสริมแรงรวมถึงการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

สรุปงานวิจัย


เรื่อง การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
(A study of multiple intelligences abilities of young children enhancing science activities)

ของ พิมพ์พรรณ ทองประสิทธ์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พฤษภาคม 2548


ความสำคัญ = เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีผลต่อความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย
ต้องการพัฒนาในเรื่องของวิทยาศาสตร์อย่างไร = ต้องการพัฒนาทางด้านพหุปัญาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสำรวจปัญหา  การตั้งสมมติฐาน การศึกษาค้นคว้า การสรุปผล และการนำเสนอในการวิจัยเด็กปฐมวัย
เครื่องมือที่ใช้ =  1.แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวการทางวิทยาศาสตร์
                             2.แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญา
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 5 ขั้น ดังนี้
 1.ขั้นการสำรวจปัญหา เป็นการค้นหาความสนใจของผู้เรียนที่ต้องการค้นหาคำตอบที่สงสัยโดยครูเป็นผู้กระตุ้นความสนใจในหัวเรื่องที่จะเรียนรู้
2.ขั้นการตั้งสมมุติฐาน ผู้เรียนจะคาดคะเน วางแผนในการค้นหาคำตอบที่สามารถหาได้จากวัสดุ อุปกรณ์
3.ขั้นการศึกษาค้นคว้า การเรียนรู้ที่ได้วางแผนไว้ โดยการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการที่หลากหลาย เป็นการศึกษาค้นคว้า สำรวจ สังเกต การทดลอง การปฏิบัติจริง เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
4.ขั้นการสรุปผล เด็กได้สรุปผลจากที่ได้สร้างองค์ความรู้จากการแก้ปัญหาตามที่ได้วางแผนไว้
5.ขั้นการนำเสนอ เป็นกานนำเสนอสรุปผลที่ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบที่ได้ในรูปการเขียนรายงานแบบวาดภาพ และนำเสนอความรู้ที่ได้จัดในรูปการอธิบายการเล่าเรื่องหรือการสาธิต

วิธีการสอน
แผนการจัดกิจกรรม






จากแผนการจัดประสบการณ์
ด้านภาษา  = ได้ในเรื่องของการพูดการสนทนาและการตอบคำถาม
ด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ = ได้ในเรื่องของการการจำแนก/เปรียบเทียบ
ด้านมิติสัมพันธ์ = เรื่องของรูปร่าง/ขนาด
ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว = การทดลองตามกลุ่มต่างๆ
ด้านดนตรี = การทำท่าทางประกอบเพลง
ด้านความเข้าใจตนเอง = เข้าใจและรู้ถึงสภาวะของของกาศว่าอากาศเป็นรูปร่างอย่างไร/จับสัมผัสได้หรือไม่
ด้านความเข้าใจผู้อื่น = เข้าใจถึงการทำงานร่วมกันการช่วยเหลือกันในการทดลอง
ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม = เข้าใจถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวว่าอากาศเป็นแบบไหนอากาศก่อให้เกิดมลภาวะมากมาย ควันออกจากท่อไอเสียทำให้เกิดอากาศเสีย/เป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม
ผลที่ได้สามารถนำไปพัฒนาเด็กได้อย่างไร = การจัดกิจกรรมจะประเมินครบทุกด้านเมื่อสอนครบใน 2 สัปดาห์ จากการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองและฝึกการคิดอย่างเป็นระบบมีโอกาสได้ศึกษาหาความรู้และหาคำตอบสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองส่งผลให้เด็กปฐมัยมีพัฒนาการความสามารถทางพหุปัญญาทุกด้านได้แก่ ด้านภาษา ด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านความเข้าใจตนเอง ด้านความเข้าใจผู้อื่นและด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สูงขึ้นอย่างเป็นลำดับและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ได้จริง


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3207)

อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ

วันอังคารที่  11  พฤศจิกายน   2557

ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557




ความรู้ที่ได้รับ


                       ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียน โดยการสอบสอนตามแผนการเรียนที่เขียนส่งอาจารย์ ซึ่งมีหน่วยต่างๆ ดังนี้
กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ (ใช้แผนวันจันทร์)     กลุ่มที่2 หน่วยนกหงส์หยกใ(ช้แผนวันอังคาร)
กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพด(ใช้แผนวันพุธ)      กลุ่มที่4 หน่วยแตงโมงใ(ช้แผนวันพฤหัสบดี)
กลุ่มที่5 หน่วยกล้วย(ใช้แผนวันศุกร์)         กลุ่มที่6 หน่วยช้าง(ใช้แผนวันจันทร์) 
กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อ(ใช้แผนวันอังคาร)      กลุ่มที่8 หน่วยสัปปะรด(ใช้แผนวันพุธ)
กลุ่มที่9 หน่วยส้ม(ใช้แผนวันพฤหัสบดี)
***วันนี้มีการนำเสนองานทั้งหมด 6กลุ่ม อีก3กลุ่มนำเสนออาทิตย์ต่อไป***
คือ กลุ่มนกหงษ์หยก/กลุ่มสัปปะรด/และกลุ่มส้ม

กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ ( Fruit ) 


เป็นกลุ่มแรกที่นำเสนอดังนั้นข้อผิดพลาดในการสอนจึงมีเยอะเพราะอาจารย์คอยชี้แนะวิธีการสอนการพูดที่ถูกต้องเป็นขั้นๆ วิธีการสอนกลุ่มนี้คือ สอนเรื่องชนิดของผลไม้ โดยการหยิบผลไม้ที่เหมือนกันโดยใช้เกณฑ์ในการหยิบแล้วนับจำนวนผลไม้หมดก่อนคือน้อยกว่าหมดหลังคือมากกว่า สามารถบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของการนับจำนวน


กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพด ( Corn )


วิธีการสอน สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังโดยการเล่านิทานเรื่องเจ้าหมูจอมตะกละซึ่งสอดแทรกประโยชน์และข้อควรระวังลงไปด้วย/ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก/ครูชูภาพแล้วให้เด็กบอกภาพไหนเป็นประโยชน์ภาพไหนเป็นข้อควรระวัง


กลุ่มที่4 หน่วยแตงโมง ( Watermelon )




วิธีการสอน การประกอบอาหารการทำน้ำแตงโมปั่นโดยการอธิบายส่วนประกอบต่างๆพร้อมสาธิตวิธีการทำให้เด็กดูแล้วให้เด็กออกมาทำให้ครบทุกคนแล้วให้เด็กชิมรสชาติของน้ำแตงโม

กลุ่มที่5 หน่วยกล้วย ( Banana )



วิธีการสอน เรื่องประโยชน์และข้อควรระวังคล้ายกับกลุ่มข้าวโพดเนื่องจากทำหัวข้อเรื่องเดียวกันจึงมีวิธีการสอนที่คล้ายกันต่างกันตรงที่กลุ่มข้าวโพดครูจะชูภาพและให้เด็กบอกว่าภาพไหนเป็นประโยชน์หรือโทษแต่กลุ่มให้เด็กออกมานำภาพไปติดตามที่เด็กเข้าใจว่าอันไหนเป็นประโยน์และโทษ

กลุ่มที่6 หน่วยช้าง ( Elephant )


วิธีการสอน เรื่องชนิดของช้างกลุ่มนี้วิธีการสอนก็จะคล้ายกับกลุ่มผลไม้เพราะได้สอนวันเดียวกันแต่เนื่องจากกลุ่มนี้มีตัวอย่างให้ดูแล้วเวลาออกมานำเสนอก็ยังมีข้อผิดพลาดอยู่ คือ ภาพช้างเล็กเกินไปไม่มีตัวเลขกำกับให้เด็กเห็นควรวางเรียงให้เป็นฐาน 10 หรือ 5 เด็กจะได้เข้าใจในการนับจำนวน กลุ่มนี้ใช้เกณฑ์แบ่งช้างเอเชียกับช้างแอฟริกา

กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อ ( Butterfly )


วิธีการสอน ลักษณะ/สี/ขนาด/รูปทรง ให้เด็กสังเกตลักษณะต่างๆของผีเสื้อ 2 ชนิดแล้วมาหาความสัมพันธ์เหมือนต่าง ข้อปรับปรุงคืออันไหนที่ใช้สีระบายได้ให้ใช้สีวาดรูปได้ให้วาดเพราะเด็กยังอ่านหนังสือไม่ออกไม่รู้หรอกว่าเราเขียนอะไรใช้สี/วาดภาพเด็กจะเข้าใจกว่าและการหาความสัมพันธ์อันไหนที่หาไปแล้วให้วงไว้เพื่อให้เด็กเห็นว่าอันไหนเอาไปแล้ว


การนำไปประยุกต์ใช้
                             
                         สามารถนำความรู้ที่ิได้จากการเขียนแผนการสอนกิจกรรมต่างๆรวมถึงวิธีการสอนเทคนิคต่างๆสามารถนำไปใช้ในสอนเด็กในอนาคตได้จริงเพราะการเขียนแผนรวมถึงวิธีการสอนเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องใช้สอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่จะเป็นครูต้องสามารถเขียนแผนการสอนและสามารถนำแผนที่เขียนนั้นไปสอนเด็กให้ตรงกับวัตุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างถูกต้องและเป็นขั้นตอน

ประเมินตนเอง

                        แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและอธิบายถึงวิธีการสอนเทคนิคการสอนเด็กให้เด็กเข้าใจเป็นขั้นๆและสามารถที่จะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ได้จริงและนำไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่ดีขึ้น

ประเมินเพื่อน  

                        เพื่อนในกลุ่มรวมถึงเพื่อนในห้องพูดคุยถึงข้อสงสัยในเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนอว่ามีข้อบกพร่องตรงไหนที่เพื่อนควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นเพื่อนๆร่วมทำกิจกรรมและสนใจฟังเพื่อนออกมานำเสนอได้ดี

ประเมินอาจารย์  

                         อาจารย์มีการถามถึงวิธีและกระบวนการสอนว่ามีตรงไหนที่เราคิดว่าไม่ถูกต้องควรปรับปรุงควรสอนแบบไหนก่อนก่อนที่จะไปสอนอีกแบบหนึ่งมีการถามให้เราเกิดความคิดและความเข้าใจในวิธีการสอนนั้นจริงๆและสามารถนำเทคนิคและวิธีการต่างๆไปสามารถใช้กับเด็กได้จริงในอนาคต

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3207)

อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ

วันอังคารที่  4  พฤศจิกายน   2557

ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557


ความรู้ที่ได้รับ
                          
                        " การเขียนแผนวิทยาศาสตร์ " (หน่วย กล้วย)
ซึ่งในหน่วยหนึ่งต้องสามารถแตกย่อยออกไปเป็นเรื่องๆเช่น กล้วย อาจแตกออกไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ชนิดของกล้วย  ลักษณะของกล้วย  การประกอบอาหาร  การขยายพันธ์ุ  รวมถึงประโยชน์และข้อควรระวังให้สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์ในการสอนเด็กให้ครบทั้ง 5 วัน นอกจากการเขียนแผนการเสริมประสบการณ์แล้วยังต้องมีแผนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  กิจกรรมเสรี  กิจกรรมกลางแจ้ง  และกิจกรรมเกมการศึกษา รวมเป็น 6 กิจกรรมในการเขียนแผนสอนเด็กซึ่งเด็กจะได้รับความรู้และประสบการณ์ต่างๆผ่านการทำกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมนี้




การนำไปประยุกต์ใช้
                               
                         สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเขียนแผนการสอนกิจกรรมต่างๆไปใช้ในการเขียนแผนการสอนเด็กในอนาคตได้เพราะการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องใช้สอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่จะเป็นครูต้องสามารถเขียนแผนการสอนได้อย่างถูกต้อง

ประเมินตนเอง

                        ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายถึงการเขียนแผนที่ถูกต้อเพื่อนำมาเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กในกลุ่มของตนเองเรื่อง "กล้วย" ซึ่งการเขียนแผนมีหลายวันและหลายหัวข้อโดยแบ่งกับเพื่อนในกลุ่มในการเขียนแผนวันต่างๆว่าจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไรในวันนั้นๆ

ประเมินเพื่อน  

                        เพื่อนในกลุ่มรวมถึงเพื่อนในห้องพูดคุยถึงข้อสงสัยในการเขียนแผนที่ถูกต้องว่าในหน่วยนั้นควรมีเนื้อหาเรื่องอะไรที่จะนำไปใช้เขียนแผนในการสอนเด็กรวมทั้งแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการเขียนแผนของคนในกลุ่ม

ประเมินอาจารย์  

                         อาจารย์มีการถามถึงข้อสงสัยในการเขียนแผนรวมถึงอธิบายวิธีการเขียนแผนที่ถูกต้องให้นักศึกษาฟังของแต่ละกลุ่มว่าควรเขียนในลักษณะไหนมีการถามเป็นรายกลุ่มเพื่อจะได้รู้ถึงปัญหาและข้อสงสัยของแต่ละกลุ่มเพื่อจะได้อธิบายให้ชัดเจนและเข้าใจตรงกัน

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3207)

อาจารย์จินตนา    สุขสำราญ

วันอังคารที่  28  ตุลาคม   2557

ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557


ความรู้ที่ได้รับ
                          
                        " การทดลองวิทยาศาสตร์ " แรงดันของอากาศ





ภาพการทดลองในห้องเรียน




การนำไปประยุกต์ใช้
                                 
                         สามารถนำความรู้ที่ได้จากการทดลองที่อาจารย์นำมาทดลองให้ดูสามารถนำการทดลองง่ายๆไปใช้ในการทดลองให้เด็กดูโดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการทดลองจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีและเข้าใจยิ่งขึ้นในเรื่องของการทดลองนั้นๆ

ประเมินตนเอง

                        สนใจในการทดลองและตื่นเต้นกับการทดลองที่อาจารย์นำมาสอนและให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำการทดลองรู้สึกสนุกและเกิดการคิดคำถามมากมาย เช่น "ทำไม" "เพราะอะไร"  ซึ่งเป็นคำถามที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในความคิดของทุกๆคนเมื่อดูการทดลอง

ประเมินเพื่อน  

                        เพื่อนแต่ละคนสนใจและตั้งใจร่วมทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทดลองกันอย่างสนุกสนานและดูเพื่อนๆแต่ละคนร่วมกันตั้งข้อสงสัยและเิกดคำถามมากมายรวมถึงพูดคุยโต้ตอบคำถามกับอาจารย์อย่างสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์  

                         อาจารย์มีการทดลองวิทยาศาสตร์มาให้นัักศึกษาได้ทำการทดลองกันอย่างสนุกสนานมีการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทดลองเพราะมีการทดลองหลายการทดลองอาจารย์มีการถาม-ตอบเพื่อให้นักศึกษาเกิดความคิดและเกิดข้อสงสัยในการทดลองวิทยาศาสตร์