Charida Intanom 49

Charida  Intanom  49

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย


เรื่อง การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
(A study of multiple intelligences abilities of young children enhancing science activities)

ของ พิมพ์พรรณ ทองประสิทธ์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พฤษภาคม 2548


ความสำคัญ = เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีผลต่อความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย
ต้องการพัฒนาในเรื่องของวิทยาศาสตร์อย่างไร = ต้องการพัฒนาทางด้านพหุปัญาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสำรวจปัญหา  การตั้งสมมติฐาน การศึกษาค้นคว้า การสรุปผล และการนำเสนอในการวิจัยเด็กปฐมวัย
เครื่องมือที่ใช้ =  1.แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวการทางวิทยาศาสตร์
                             2.แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญา
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 5 ขั้น ดังนี้
 1.ขั้นการสำรวจปัญหา เป็นการค้นหาความสนใจของผู้เรียนที่ต้องการค้นหาคำตอบที่สงสัยโดยครูเป็นผู้กระตุ้นความสนใจในหัวเรื่องที่จะเรียนรู้
2.ขั้นการตั้งสมมุติฐาน ผู้เรียนจะคาดคะเน วางแผนในการค้นหาคำตอบที่สามารถหาได้จากวัสดุ อุปกรณ์
3.ขั้นการศึกษาค้นคว้า การเรียนรู้ที่ได้วางแผนไว้ โดยการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการที่หลากหลาย เป็นการศึกษาค้นคว้า สำรวจ สังเกต การทดลอง การปฏิบัติจริง เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
4.ขั้นการสรุปผล เด็กได้สรุปผลจากที่ได้สร้างองค์ความรู้จากการแก้ปัญหาตามที่ได้วางแผนไว้
5.ขั้นการนำเสนอ เป็นกานนำเสนอสรุปผลที่ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบที่ได้ในรูปการเขียนรายงานแบบวาดภาพ และนำเสนอความรู้ที่ได้จัดในรูปการอธิบายการเล่าเรื่องหรือการสาธิต

วิธีการสอน
แผนการจัดกิจกรรม






จากแผนการจัดประสบการณ์
ด้านภาษา  = ได้ในเรื่องของการพูดการสนทนาและการตอบคำถาม
ด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ = ได้ในเรื่องของการการจำแนก/เปรียบเทียบ
ด้านมิติสัมพันธ์ = เรื่องของรูปร่าง/ขนาด
ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว = การทดลองตามกลุ่มต่างๆ
ด้านดนตรี = การทำท่าทางประกอบเพลง
ด้านความเข้าใจตนเอง = เข้าใจและรู้ถึงสภาวะของของกาศว่าอากาศเป็นรูปร่างอย่างไร/จับสัมผัสได้หรือไม่
ด้านความเข้าใจผู้อื่น = เข้าใจถึงการทำงานร่วมกันการช่วยเหลือกันในการทดลอง
ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม = เข้าใจถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวว่าอากาศเป็นแบบไหนอากาศก่อให้เกิดมลภาวะมากมาย ควันออกจากท่อไอเสียทำให้เกิดอากาศเสีย/เป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม
ผลที่ได้สามารถนำไปพัฒนาเด็กได้อย่างไร = การจัดกิจกรรมจะประเมินครบทุกด้านเมื่อสอนครบใน 2 สัปดาห์ จากการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองและฝึกการคิดอย่างเป็นระบบมีโอกาสได้ศึกษาหาความรู้และหาคำตอบสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองส่งผลให้เด็กปฐมัยมีพัฒนาการความสามารถทางพหุปัญญาทุกด้านได้แก่ ด้านภาษา ด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านความเข้าใจตนเอง ด้านความเข้าใจผู้อื่นและด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สูงขึ้นอย่างเป็นลำดับและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ได้จริง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น